MAKRO วางงบ 2.7 หมื่นล้าน ลุยเปิดสาขาใหม่ ปรับโฉมโลตัส
เปิดเอกสาร แม็คโคร เปลี่ยนชื่อเป็น “ซีพี แอ็กซ์ตร้า”
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือ MAKRO แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ประจำไตรมาส 1 ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 2,166 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6% และมีรายได้รวม 120,222 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากรายได้การขายเพิ่มขึ้น 7.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 1 ปี 66 บริษัทฯ มี EBITDA เท่ากับ 9,038 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
และบริษัทฯมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 14% ของยอดขายรวม ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่ 14.2%
ธุรกิจค้าส่ง รายได้เพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 63,993 ล้านบาท เป็นผลจากยอดขายภายในสาขา การเพิ่มประสิทธิภาพส่งสินค้ารอบรับการเติบโตจากการขายออนไลน์และการขายนอกร้านของธุรกิจแม็คโครประเทศไทย
ด้านธุรกิจค้าปลีก รายได้เพิ่มขึ้น 0.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 50,051 ล้านบาท เนื่องจากยอดขายในต่างประเทศลดลงเล็กน้อย
ด้านรายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น เท่ากับ 2,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ด้านรายได้ค่าเช่าและรายได้จากการให้บริการศูนย์การค้า เท่ากับ 3,558 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ณ วันที่ 31 มี.ค. 2566 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 522,920 ล้านบาท ลดลง 4.7% และมีหนี้สินรวม 230,105 ล้านบาท ลดลง 10.7% จาก ณ วันที่ 31 ธ.คคำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท. 2565 ขณะที่เงินสดและรายการเทียบท่าเงินสด คงเหลือ 15,181 ล้านบาท
อ่านรายละเอียดฉบับเต็ม :คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2566
ล่าสุด บล.เอเซียพลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กำไรสุทธิงวดไตรมาส 1/66 ของ MAKRO ใกล้กับที่คาดการณ์ไว้ โดยในไตรมาส 2/66 เชื่อว่ามีแนวโน้มรายได้สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากยอดขายสินค้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และจากกำลังซื้อที่คาดจะดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตดีขึ้น รวมถึงการปรับปรุงสาขาเดิม/เปิดสาขาใหม่ บวกกับคาดอัตรากำไรขั้นต้น (มาร์จิ้น)จะสูงขึ้น ตามฐานรายได้ที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้แต่กำไรสุทธิอาจถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าปรับที่เกิดจากการจ่ายหนี้เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐที่เหลือทั้งหมดคืนก่อนกำหนด ซึ่งคาดจะต้องจ่ายค่าปรับไม่ต่ำกว่าในไตรมาส 4 /65 5และไตรมาส 1/666 ที่ได้มีการทยอยคืนหนี้ดังกล่าวก่อนกำหนดโดยจ่ายค่าปรับก่อนภาษีไปราว 230 – 260 ล้านบาทต่องวด ซึ่งงวดไตรมาส 2/66 จะเป็นงวดสุดท้ายที่จะบันทึกค่าใช้จ่ายพิเศษนี้
อย่างไรก็ตาม บล.เอเซียพลัส ยังคงประมาณการกำไรปี 2566 – 2567 ไว้ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท และ 1.8 หมื่นล้านบาทตามลำดับ เนื่องจากคาดหมายกำไรจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังปี 66 (2H66) โดยคงราคาเป้าหมายปี 2566 ที่ 44.00 บาท อิง PER 36.9 เท่า (+2.0 S.D)