“สหรัฐฯ-ญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์” ประชุมสุดยอดไตรภาคีครั้งแรก

โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นเพื่อส่งสัญญาณไปยังจีนว่า ให้ยุติพฤติกรรมก้าวร้าวต่อประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพในการประชุมหารือร่วมกับ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์วาระหลักของวงประชุมนี้คือ ความตึงเครียดระหว่างฟิลิปปินส์และจีน ที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากประเด็นข้อพิพาทการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ หลังในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เรือรบของจีนคุกคามเรือของฟิลิปปินส์อยู่เป็นระยะ

โดยระหว่างเปิดการประชุมประธานาธิบดีไบเดน ระบุว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งแรกระหว่างสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และยกระดับการประสานงานร่วมกันของทั้งสามชาติให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

นอกจากนี้การประชุมดังกล่าวยังเป็นการมุ่งมั่นสร้างอนาคตร่วมกันของทั้งสามชาติ เพื่อให้อินโด-แปซิฟิกเสรี เปิดกว้าง สงบสุข มั่งคง และปลอดภัยสำหรับทุกคน ขณะเดียวกันประธานาธิบดีไบเดนได้เน้นย้ำถึงพันธกรณีด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ต่อญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ว่ายังคงแข็งแกร่ง พร้อมย้ำว่า การโจมตีใดๆ ที่เกิดขึ้นต่อฟิลิปปินส์ในทะเลจีนใต้จะทำให้สนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันมีผลบังคับใช้

แต่ในวันเดียวกัน ที่กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ มีรายงานว่า มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวหลายร้อยคนเดินขบวนไปตามท้องถนนเพื่อประท้วงการประชุมสุดยอดไตรภาคีระหว่างสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น โดยบรรดานักเคลื่อนไหวฟิลิปปินส์ได้ฉีกธงชาติสหรัฐฯ และโปสเตอร์รูปภาพของผู้นำทั้งสามชาติ พร้อมทั้งประณามประธานาธิบดีมาร์กอส จูเนียร์ที่นำเรื่องการยืนยันอธิปไตยของฟิลิปปินส์ในทะเลจีนใต้มาใช้เพื่อส่งเสริมวาระทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ภายใต้การนำของประธานาธิบดีมาร์กอส จูเนียร์ ได้ยกระดับเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ท่ามกลางเผชิญหน้าทางทะเลกับจีนในทะเลจีนใต้ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

โดยประธานาธิบดีมาร์กอสได้อนุญาตให้ทหารอเมริกันเข้าถึงฐานทัพฟิลิปปินส์ได้เกือบสองเท่า ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมระดับสูง และกำลังเจรจาร่วมกับญี่ปุ่น เพื่อเปิดทางให้กองกำลังญี่ปุ่นเข้าไปยังดินแดนของฟิลิปปินส์เพื่อการฝึกซ้อมด้วย

นี่จึงทำให้กลุ่มนักเคลื่อนไหวของฟิลิปปินส์กังวลว่า การประชุมดังกล่าวจะนำสู่ความร่วมมือทางทหารระหว่างฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ และญี่ปุ่นมากขึ้น และอาจทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้รุนแรงขึ้น

ทั้งนี้มีรายงานว่า การประชุมสุดยอดไตรภาคีเมื่อวานนี้ มีขึ้นเพื่อเเสดงให้ ประธานาธิบดีมาร์กอส จูเนียร์ เห็นว่า ประธานาธิบดีไบเดน และนายกฯ คิชิดะมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสนับสนุนฟิลิปปินส์ในการต่อต้านอิทธิพลของจีน

ในขณะที่ญี่ปุ่นเองก็กำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากหลายทิศทาง รวมถึงการแข่งขัน และการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกนี่จึงทำให้ญี่ปุ่นต้องยกระดับนโยบายด้านกลาโหมครั้งใหญ่ และกระชับความสัมพันธ์กับชาติพันธมิตรมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสหรัฐฯ

ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากทั้งจีน และเกาหลีเหนือ โดยประเด็นเกาหลีเหนือ เรื่องที่ญี่ปุ่นกังวลคือภัยคุกคามทางด้านนิวเคลียร์และขีปนาวุธ หลังเกาหลีเหนือมักซ้อมยิงขีปนาวุธ และไปตกในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของญี่ปุ่นอยู่เป็นระยะ

แต่ประเด็นที่ญี่ปุ่นกังวลมากที่สุดคือ ภัยคุกคามจากจีน เพราะในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เรือยามฝั่งของจีนมักเข้าไปใกล้หมู่เกาะเซ็นกากุ ซึ่งเป็นพื้นที่พิพาท ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นในทะเลจีนตะวันออก และอยู่ไม่ไกลจากเกาะไต้หวัน

นี่ทำให้ผู้นำญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ต้องหารือร่วมกัน และเน้นไปที่การทำข้อตกลงในแผนการปรับปรุงโครงสร้างการบังคับบัญชาทางการทหารให้ทันสมัย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถปฏิบัติการในภูมิภาคร่วมกันได้ดียิ่งขึ้ท่ามกลางการหารือระหว่าง

ผู้นำญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ รวมถึงด้านความมั่นคง ล่าสุดทั้งสองฝ่ายได้วางแผนที่จะยกระดับความสัมพันธ์ด้านกลาโหมเพื่อรักษาความมั่นคง และสันติภาพเอเชีย-แปซิฟิก

โดยประธานาธิบดีไบเดน และนายกฯ คิชิดะ ยืนยันว่า ความเป็นพันธมิตรระหว่างสองชาติไม่มีวันแตกหัก และประธานาธิบดีไบเดน ย้ำด้วยว่า ความเป็นพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เป็นรากฐานสำคัญของสันติภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และทั่วโลก นี่จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงในประเด็นต่างๆ ร่วมกันไม่ต่ำกว่า 70 ฉบับ นับตั้งแต่นายกฯ คิชิดะเริ่มภารกิจการเยือนสหรัฐฯคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งที่ ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะยกระดับความสัมพันธ์กลาโหมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งคำมั่นสัญญาดังกล่าวถือเป็นการปรับปรุงความร่วมมือทางทหารระหว่างสองชาติครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ปี 1951 หรือในรอบเกือบ 73 ปี

ด้านศาตราจารย์ สตีเฟน นากี (Stephen Nagy) ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจาก Tokyo's International Christian University วิเคราะห์ว่า ความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่น เกิดจาก ณ เวลานี้มีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นบนโลก และทุกเหตุการณ์เชื่อมโยงกันอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่เหตุการณ์ต่างๆ ในภูมิภาคหนึ่ง อาจลุกลาม และทำให้โลกทั้งโลกเกิดความไม่มั่นคง ส่วนญี่ปุ่นเองตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดสำคัญที่มีความยากลำบาก เนื่องจากต้องพึ่งพาการค้าทางทะเลอย่างมาก

ซึ่งนี่หมายความว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องอยู่ในแนวหน้าของความพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อภูมิรัฐศาสตร์ และป้องกันเหตุฉุกเฉิน และวิธีการที่ดีที่สุดคือ การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงที่เข้มแข็งกับประเทศที่มีความคิดเดียวกัน

เห็นได้จากความกระตือรือร้นของญี่ปุ่นที่จะเป็นภาคีในสนธิสัญญาความมั่นคง และการค้าหลายฉบับ เช่น “Quad” หรือQuadrilateral Security Dialogue ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก ที่ประกอบไปด้วย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย ตลอดจนข้อตกลงไตรภาคีระหว่างญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้นอกจากนี้ ญี่ปุ่นก็เตรียมร่วมประชุมประจำปีของนาโต ที่จะจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ในเดือน ก.ค. นี้ด้วย

ส่วนประเด็นเรื่องของรัสเซีย ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ญี่ปุ่นกังวลว่าสงครามในยุโรปอาจนำไปสู่ความขัดแย้งในเอเชียตะวันออก เพราะถ้ายุโรปยังไม่มีท่าทีที่เด็ดขาดต่อรัสเซีย ก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้จีนมีท่าทีที่แข็งกร้าวมากขึ้น ที่อาจนำไปสู่วิกฤตครั้งใหม่ นี่ทำให้นายกฯ ญี่ปุ่นย้ำการสนับสนุนสหรัฐฯ ต่อยูเครนมีความสำคัญ

โดย นายกฯ คิชิดะ ได้หยิบยกประเด็นเรื่องสงครามในยูเครนขึ้นกล่าวต่อสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ในการขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกของเขาด้วย

โดยระบุว่าโลกต้องการสหรัฐฯ ที่มีบทบาทสำคัญในประเทศต่างๆ ต่อไป และขณะที่ญี่ปุ่นเองกำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านกลาโหม เพื่อสนับสนุนความพยายามของสหรัฐฯ เพื่อขจัดภัยคุกคามที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

ดังนั้นการสนับสนุนของสหรัฐฯ มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของยูเครน เพราะยูเครนอาจพังทลายจากการโจมตีของรัสเซีย และสิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครน ณ วันนี้ อาจเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกต่อไปได้

ส่วนความเคลื่อนไหวของจีน เมื่อวานนี้ เหมา หนิง โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การประชุมระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นว่าเป็นการใส่ร้ายป้ายสีจีน พร้อมชี้ว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของจีนอย่างร้ายแรง และละเมิดหลักการพื้นฐาน ตลอดจนบรรทัดฐานที่ควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ไม่ควรมุ่งเป้า หรือสร้างอันตรายต่อผลประโยชน์ของประเทศอื่นๆ รวมถึงไม่ควรบ่อนทำลายสันติภาพ และเสถียรภาพในภูมิภาคด้วย

ขณะที่ในประเด็นการประชุมไตรภาค สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนยังได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า จีนไม่เห็นด้วยกับกลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้องซึ่งใช้วิธีตั้งกลุ่มการเมือง หรือ bloc politics จัดการเรื่องต่างๆ และขอต่อต้านพฤติกรรมที่เป็นการยั่วยุ หรือวางแผนเพื่อต่อต้าน และทำลายผลประโยชน์ด้านความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ของประเทศอื่น

นอกจากนี้ยังปกป้องการดำเนินกิจกรรมของตัวเองในทะเลจีนใต้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ได้เน้นย้ำว่า ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์สามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ได้ตามปกติ แต่ไม่ควรเชิญฝ่ายตรงข้ามเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาค เพื่อทำลายผลประโยชน์ของประเทศอื่น ทั้งนี้จีนได้เรียกนักการทูตญี่ปุ่นเข้าพบเพื่อแสดงความกังวล และความไม่พอใจต่อความเห็นเชิงลบระหว่างการประชุมไตรภาคีที่เกิดขึ้นที่กรุงวอชิงตันด้วย

ทั้งนี้ จีนได้อ้างอธิปไตยเหนือน่านน้ำเกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ และไม่ยอมรับการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนจากชาติอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมถึงฟิลิปปินส์ จนเกิดการเผชิญหน้ากันอยู่บ่อยครั้ง

ขณะที่ โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ได้เรียกร้องให้ฟิลิปปินส์ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา และยุติพฤติกรรมยั่วยุใดๆ ก็ตามเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ในทะเลจีนใต้

By admin

Related Post