ชวนวงการส่งออกไทยเข้าใจ “มาตรการ CBAM”

CBAM เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้กรอบนโยบาย European Green Deal หรือการวางแผนยุทธศาสตร์ ของสหภาพยุโรป (EU) เพื่อสร้างสังคมที่มั่งคั่งและเป็นธรรมบนพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ทันสมัย จากการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของสหภาพยุโรปลง 55% ภายในปี 2030 (เมื่อเทียบกับปีฐาน 1990) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยมีการออกแบบนโยบาย มาตรการ และโครงการต่าง ๆ เพื่อบรรลุความมุ่งมั่นในการเป็นทวีปแรกในโลก ที่มีความเป็นกลางทางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Neutrality)

ปัจจุบันมีประเภทสินค้าที่อยู่ในขอบเขตของมาตรการ CBAM ทั้งสิ้น 7 รายการ ได้แก่ อะลูมิเนียม (Aluminium) เหล็กและเหล็กกล้า (Iron & Steel) ปูนซีเมนต์ (Cement) ปุ๋ย (Fertilizer) ไฟฟ้า (Electricity) ไฮโดรเจน (Hydrogen) และผลิตภัณฑ์ปลายน้ำอื่น ๆ (Other Downstream Products) และในอนาคตอันใกล้ได้มีการคาดการณ์ว่า จะกำหนดรวมเคมีภัณฑ์และพอลิเมอร์ (Organic Chemicals & Polymers) ให้อยู่ภายใต้มาตรการนี้ในช่วงปี 2026-2027 และในปี 2030 คาดการณ์ว่าจะครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์

ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการก่อนส่งสินค้าข้ามพรมแดน EU โดยสรุปมีดังนี้
1. CBAM Declaration
ระหว่างปี 2023-2025 ผู้นำเข้าต้องรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยงานประสานงานกลางของ CBAM (Authorized Declarant) รายไตรมาส โดยจะเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม 2023
2. CBAM Certificate
นับจากปี 2026 เป็นต้นไป ผู้นำเข้าจะต้องรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Embedded Emission) ซึ่งข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวจะถูกรับรองความถูกต้องโดยผู้ทวนสอบ (Accredited Verifier) ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการ CBAM (CBAM Authority) ซึ่งยังไม่มีการประกาศรายชื่อผู้ทวนสอบอย่างเป็นทางการในปัจจุบัน พร้อมทั้งซื้อ CBAM Certificate ที่เกินค่า Benchmark ของ EU ภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี โดย 1 Certificate = 1 Ton CO2e ซึ่งราคาของใบรับรองจะเชื่อมโยงกับราคาเฉลี่ยรายสัปดาห์ของ EU Emission Trading System (EU ETS) โดยกระบวนการซื้อ-ขายใบรับรองนี้จะทำผ่านหน่วยงานประสานงานกลางของ CBAM (Authorized Declarant)3. Authorized Declarant
เมื่อผู้นำเข้ามีใบรับรองเรียบร้อยแล้ว จะถูกส่งผ่านหน่วยงานประสานงานกลางไปยังคณะกรรมการ CBAM (CBAM Authority) เพื่อให้สามารถนำเข้าสินค้าในเขตประเทศสมาชิก EU ได้ มีผลตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไป

จากการดำเนินการตามมาตรการ CBAM ดังกล่าว ทำให้ผู้นำเข้าสินค้ามีต้นทุนในการซื้อใบรับรองเพิ่มขึ้น เป็นผลให้สินค้าที่นำเข้าไปใน EU จะมีราคาที่สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้นำเข้าอาจจะลดการนำเข้าสินค้าลง หรือแม้แต่ผู้บริโภคภายใน EU เอง จะหันมาใช้สินค้าที่ผลิตใน EU มากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า นอกจากนี้มาตรการ CBAM จะกีดกันสินค้าที่มีมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมต่ำทางอ้อมไม่ให้สามารถนำเข้าไปในตลาด EU ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้สินค้าที่มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมต่ำเหล่านี้ จะย้ายไปยังตลาดอื่นที่ไม่มีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดรวมถึงประเทศไทย

ประเทศไทยได้มีมาตรการส่งเสริม และบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ภาคธุรกิจได้มีความพร้อมในการเปิดเผยข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ เช่น ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products) ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction) และโครงการนำร่องระบบซื้อขายสิทธิ์ในการปล่อย คาร์บอนด้วยความสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) นอกจากนี้ยังได้มีการดำเนินการภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อผลักดันให้มาตรฐานการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทย
1. EU Business Partners:
การประสานงานกับคู่ค้าใน EU เพื่อติดตามมาตรการการบังคับใช้ วิธีคำนวณ และอัตราการจัดเก็บ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนมีผลบังคับใช้
2. UN Agencies & Others:
การประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพ และมีการดำเนินการตามมาตรฐานสากล
3. Climate Follow-up:
ติดตามสถานการณ์ในประเทศที่มีแนวโน้มจะออกนโยบายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีการนำมาใช้เป็นมาตรการในอนาคต
4. Climate Trialogue:
การเข้าร่วมกับหน่วยงานหรือสมาคม ที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจาข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการส่งออกไทยควรติดตามผลบังคับใช้ CBAM อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการ และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการหันมาใช้พลังงานสะอาดเพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาด EU ได้ มีความพร้อมในการสร้างความยั่งยืนให้กับโลก และอนาคตเรา

สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CBAM ได้ที่ :
https://taxation-customs.ec.europa.eu/green-taxation-0/carbon-border-adjustment-mechanism_enคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ European Green Deal ได้ที่ :
https://commission.europa.eu/strategy-and-policy/priorities-2019-2024/european-green-deal_en

ข้อมูลการวิเคราะห์ผลกระทบจากมาตรการ CBAM จากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ :คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
https://www.dtn.go.th/th/content/page/index/id/11332

**ประเทศสมาชิกในทวีปยุโรป 27 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส (รวมเขตปกครองของฝรั่งเศสนอกทวีปยุโรป) เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวะเกีย โรมาเนีย โครเอเชีย และบัลแกเรีย**

By admin

Related Post